วันจันทร์ที่ 25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2562
วันเสาร์ที่ 19 ตุลาคม พ.ศ. 2562
วันพฤหัสบดีที่ 23 พฤษภาคม พ.ศ. 2562
วันอังคารที่ 21 พฤษภาคม พ.ศ. 2562
5. การใช้บริการกับหน่วยงานต่าง ๆ
การติดต่อสื่อสารและใช้บริการกับหน่วยงานต่างๆ
การติดต่อสื่อสาร เป็นการสร้างความเข้าใจจากบุคคลหนึ่งไปยังบุคคลหนึ่ง หรือหน่วยงานหนึ่งไปยังหน่วยงานหนึ่ง หรือเป็นกระบวนการในการส่งข่าวสารระหว่างบุคคล หรือหน่วยงานทั้งภายในและภายนอกขององค์กร เพื่อให้เกิดความเข้าใจ และสามารถประสานงานให้ฝ่ายต่าง ๆ ได้ปฏิบัติหน้าที่ความรับผิดชอบได้ตรงตามวัตถุประสงค์ขององนั้นๆ
ซึ่งการสื่อสารภายในองค์กรจะมีระดับการสื่อสารอยู่หลายระดับด้วยกันไม่ว่าจะเป็นการสื่อสารระหว่างบุคคล การประชุม การฝึกอบรม การสัมมนา การชี้แจง การชี้แจงด้านเอกสาร วารสาร หรือระบบ Internet และ E – mail ภายในองค์กร การสื่อสารอย่างไม่เป็นทางการ เป็นต้น ซึ่งสิ่งเหล่านี้ผู้บริหารควรเข้าไปมีส่วนร่วมด้วย มิใช่การสื่อสารระดับผู้บริหารเท่านั้น ต้องทำให้ทุกระดับทั้งฝ่ายปฏิบัติการและฝ่ายบริหารรับทราบข้อมูลที่สอดคล้องกันจึงจะสร้างภาพลักษณ์หรือรับรู้ปัญหาขององค์กรได้ทั้งหมด ซึ่งเป็นวัฒนธรรมองค์กรที่ควรให้ความสำคัญด้วย
อาจกล่าวโดยสรุปได้ว่า การสื่อสารคือ เครื่องสร้างความเข้าใจ และสร้างวัฒนธรรมตลอดจนสามารถสร้างความมั่นคงให้กับองค์กรนั้นๆ เป็นศูนย์รวมให้องค์กรนั้นๆ ทำงานร่วมกันได้อย่างมีประสิทธิผล โดยผู้ใช้จะต้องเข้าใจและเข้าถึงกระบวนการสื่อสารเป็นอย่างดี
การติดต่อสื่อสารในองค์กรมีจุดประสงค์ดังนี้
1) เพื่อแจ้งให้ทราบ คือ การรับและส่งข่าวสารด้านต่างๆ การนำเสนอเรื่องราว ความรู้สึกนึกคิด ความรู้ หรือสิ่งอื่นใด ที่ต้องการให้ผู้รับสารรู้และเข้าใจข้อมูลนั้นๆ โดยมุ่งให้ความรู้และสร้างความเข้าใจที่ถูกต้อง
2) เพื่อความบันเทิงใจ คือ การรับส่งความรู้สึกที่ดี และมุ่งรักษามิตรภาพต่อกัน เป็นการนำเสนอเรื่องราวหรือสิ่งอื่นใดที่จะทำให้ผู้รับสารเกิดความพึงพอใจ
3) เพื่อชักจูงใจ คือ การนำเสนอเรื่องราวหรือสิ่งอื่นใดเพื่อจูงใจให้เกิดความร่วมมือ สร้างกำลังใจ เพื่อให้ผู้รับสารเกิดความคิดคล้อยตาม หรือปฏิบัติตามที่ผู้ส่งสารต้องการ และนำไปสู่การปรับปรุงแก้ไข
ความสำคัญของการติดต่อสื่อสารในองค์กร
1) เป็นเครื่องมือของผู้บริหารในการบริหารงาน เพราะการสื่อสารภายในองค์กรจะช่วยทำให้สามารถทำงานได้สำเร็จลุล่วงไปด้วยดี เนื่องจากการทำงานต้องอาศัยหลายฝ่าย หลายส่วนงานเข้ามาช่วยเสริมสร้างศักยภาพให้กับองค์กร
2) เป็นเครื่องมือที่ช่วยสร้างความสัมพันธ์ระหว่างผู้บริหารกับบุคลากรต่างๆภายในองค์กรเดียวกัน เพื่อให้เกิดความเข้าใจที่ตรงกัน และสร้างความไว้วางใจต่อกัน โดยเฉพาะการเปิดโอกาสให้บุคลากรในระดับต่างๆได้มีส่วนร่วมในการบริหารงานของผู้บริหาร
3) การช่วยกันปฏิบัติภารกิจขององค์กรและมีการประสานงานระหว่างกัน พร้อมทั้งทำงานสอดคล้องกันแม้ว่าจะต่างฝ่ายกันก็ตาม แต่เพื่อองค์กรเดียวกัน ผู้บริหารสามารถใช้การสื่อสารให้เป็นการสื่อสารเพื่อ สร้างความเป็นหนึ่งเดียวภายในองค์กรให้ได้
4) การช่วยให้เกิดการพัฒนาและการทำงานที่มีประสิทธิภาพ จากปัจจัยต่างๆเมื่อผสมผสานเข้ากันแล้ว สามารถช่วยทำให้เกิดการพัฒนาองค์กรได้ โดยเฉพาะพลังขับเคลื่อนที่นำโดยผู้บริหาร ที่รู้จักการสื่อสารภายในองค์กรเป็นอย่างดี
โทรศัพท์เคลื่อนที่
โทรศัพท์มือถือ หรือ โทรศัพท์เคลื่อนที่ (บ้างเรียก วิทยุโทรศัพท์) คืออุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่ใช้ในการสื่อสารสองทางผ่าน โทรศัพท์มือถือใช้คลื่นวิทยุในการติดต่อกับเครือข่ายโทรศัพท์มือถือโดยผ่านสถานีฐาน โดยเครือข่ายของโทรศัพท์มือถือแต่ละผู้ให้บริการจะเชื่อมต่อกับเครือข่ายของโทรศัพท์บ้านและเครือข่ายโทรศัพท์มือถือของผู้ให้บริการอื่น โทรศัพท์มือถือที่มีความสามารถเพิ่มขึ้นในลักษณะคอมพิวเตอร์พกพาจะถูกกล่าวถึงในชื่อสมาร์ทโฟน
โทรศัพท์มือถือในปัจจุบันนอกจากจากความสามารถพื้นฐานของโทรศัพท์แล้ว ยังมีคุณสมบัติพื้นฐานของโทรศัพท์มือถือที่เพิ่มขึ้นมา เช่น การส่งข้อความสั้นเอสเอ็มเอส ปฏิทิน นาฬิกาปลุก ตารางนัดหมาย เกม การใช้งานอินเทอร์เน็ต บลูทูธ อินฟราเรด กล้องถ่ายภาพ เอ็มเอ็มเอสวิทยุ เครื่องเล่นเพลง และ จีพีเอส
โทรศัพท์เคลื่อนที่เครื่องแรกถูกผลิตและออกแสดงใน พ.ศ. 2516 โดย มาร์ติน คูเปอร์ (Martin Cooper) นักประดิษฐ์จากบริษัทโมโตโรลาเป็นโทรศัพท์เคลื่อนที่ขนาดใหญ่ที่มีน้ำหนักประมาณ 1.1 กิโลกรัม[1] ปัจจุบันจำนวนผู้ใช้งานโทรศัพท์เคลื่อนที่ทั่วโลก เพิ่มขึ้นจากปี พ.ศ. 2543 ที่มีจำนวน 12.4 ล้านคน[2] มาเป็น 4,600 ล้านคน[3]
เนื้อหา
วิวัฒนาการของโทรศัพท์มือถือ
- 1G ระบบโทรศัพท์มือถือแบบ analog โทรศัพท์มือถือในยุคนั้นไม่สามารถทำอะไรได้มากนัก ความสามารถหลักๆ คือการให้บริการเสียงอย่างเดียว รองรับเพียงการโทรเข้าและรับสาย ยังไม่รองรับการส่งหรือรับ Data ใดๆ แม้แต่จะส่ง SMS ก็ยังไม่สามารถทำได้ ซึ่งในยุคนั้นผู้คนก็ยังไม่มีความจำเป็นในการใช้งานอื่นๆ นอกจากการโทรเข้าออกอยู่แล้ว และกลุ่มคนส่วนใหญ่ที่สามารถใช้งานโทรศัพท์เคลื่อนที่ได้ในเวลานั้น เป็นผู้มีฐานะหรือนักธุรกิจที่ใช้ติดต่องาน เนื่องจากโทรศัพท์เคลื่อนที่ในเวลานั้นมีราคาสูงมาก ระบบที่จัดอยู่ในยุคนี้เช่น NMT, AMPS, DataTac เริ่มใช้งานครั้งแรกในปี ค.ศ.1980
- 2G ระบบโทรศัพท์มือถือแบบ digital ระบบที่จัดอยู่ในยุคนี้เช่น GSM, cdmaOne, PDC มีการพัฒนารูปแบบการส่งคลื่นเสียงแบบ Analog มาเป็น Digital โดยการเข้ารหัส โดยส่งคลื่นเสียงมาทางคลื่นไมโครเวฟ โดยการเข้ารหัสเป็นแบบดิจิตอลนี้ จะช่วยในเรื่องของความปลอดภัยในการใช้งานมากยิ่งขึ้น และช่วยในเรื่องของสัญญาณเสียงที่ใช้ติดต่อสื่อสารให้มีความคมชัดมากขึ้นด้วย โดยมีเทคโนโลยีการเข้าถึงช่องสัญญาณของผู้ใช้เป็นลักษณะเชิงผสมระหว่าง FDMA และ TDMA (Time Division Multiple Access) เป็นการเพิ่มช่องทางการสื่อสารทำให้รองรับปริมาณผู้ใช้งานที่มีมากขึ้นได้ ให้บริการทั้งเสียงและข้อมูล มีการทำงานแบบ circuit switching ที่ความเร็ว 9.6-14.4 kbps
- 2.5G ระบบโทรศัพท์มือถือแบบ digital ที่เริ่มนำระบบ packet switching มาใช้ ระบบที่จัดอยู่ในยุคนี้เช่น GPRS ซึ่งพัฒนาในเรื่องของการรับส่งข้อมูลที่มากขึ้น ด้วยความเร็วสูงสุดถึง 115 Kbps (แต่ถูกจำกัดการใช้งานจริงอยู่ที่ 40 kbps) สิ่งที่เราจะเห็นได้ชัดถึงการเปลี่ยนแปลงในยุคนี้ก็คือ โทรศัพท์เคลื่อนที่ได้เพิ่มฟังก์ชันการรับส่งข้อมูลในส่วนของ MMS (Multimedia Messaging Service) หน้าจอโทรศัพท์เริ่มเข้าสู่ยุคหน้าจอสี และเสียงเรียกเข้าก็ถูกพัฒนาให้เป็นเสียงแบบ Polyphonic จากของเดิมที่เป็น Monotone และเข้ามาสู่ยุคที่เสียงเรียกเข้าเป็นแบบ MP3
- 2.75G ยุคนี้เป็นยุคของ EDGE (Enhanced Data rates for Global Evolution) ที่พัฒนาต่อยอดมาจาก GPRS นั่นเอง และในปัจจุบันนี้เราก็ยังคงได้ยินและมีการใช้เทคโนโลยีนี้กันอยู่ ซึ่งได้พัฒนาในเรื่องของความเร็วในการรับส่งข้อมูลไร้สาย ระบบที่จัดอยู่ในยุคนี้เช่น , EDGE ให้ความเร็วน้อยกว่า 10 KBPS
- 3G ระบบโทรศัพท์มือถือแบบ digital ยุคนี้จะเน้นการสื่อสารทั้งการพูดคุยแบบเสียงตามปกติและแบบรับส่งข้อมูลซึ่งในส่วนของการรับส่งข้อมูล ที่ทำให้ 3G นั้นต่างจากระบบเก่า 2G ที่มีพื้นฐานในการพูดคุยแบบเสียงตามปกติอยู่มาก เนื่องจากเป็นระบบที่ทำขึ้นมาใหม่เพื่อให้รองรับกับการรับส่งข้อมูลโดยตรง มีช่องความถี่และความจุในการรับส่งสัญญาณที่มากกว่า ส่งผลให้การรับส่งข้อมูลหรือการใช้อินเทอร์เน็ตผ่านมือถือนั้นเร็วมากขึ้นแบบก้าวกระโดด ประสิทธิภาพในการใช้งานด้านมัลติมีเดียดีขึ้น และยังมีความเสถียรกว่า 2G ที่มีความสามารถครบทั้งการสื่อสารด้วยเสียงและข้อมูลรวมถึงวิดีโอ ระบบที่จัดอยู่ในยุคนี้เช่น W-CDMA, TD-SCDMA, CDMA2000 ความเร็ว มากกว่า 144 kbps
- 4G ระบบโทรศัพท์มือถือแบบ LTE หรือ
Long Term Evolution ได้มีการพัฒนาในเรื่องความเร็วในการรับส่งข้อมูล ที่ทำได้เร็วขึ้นถึง 100 MBPS สำหรับความเร็วขนาดนี้นั้น ทำให้สามารถใช้งานโทรศัพท์มือถือ ของคุณได้หลากหลายยิ่งขึ้น ไม่ว่าจะเป็น การดูไฟล์วีดิโอออนไลน์ด้วยความคมชัด และไม่มีการกระตุก, การสื่อสารข้ามประเทศ อย่างโทรศัพท์แบบเห็นหน้ากันแบบโต้ตอบทันที (Video Call)หรือจะเป็นการประชุมผ่านโทรศัพท์ (Mobile) ก็เป็นเรื่องง่ายขึ้น แถมยังมีค่าใช้จ่ายน้อยลงอีกด้วย สามารถเชื่อมต่อข้อมูล 3 แบบ ภาคพื้นดิน CDMA PAP และการเชื่อมต่อ Wi-Fi เพื่อการเชื่อมภาพและเสียงเป็นข้อมูลเดียวกัน และมีการพัฒนาต่อยอด เป็น 4.5G หรือเรียกว่า LTE-Aหรือ LTE Advance โดยมีความสามารถสูงกว่า LTE เดิม มีความสามารถรวมคลื่นความถี่หลากหลายๆคลื่นความถี่ ทำให้มีความเร็วสูงขึ้นสูงสุดได้ถึง 300Mbps ทำให้รองรับการใช้งานหนาแน่นและเพิ่มจำนวนผู้ใช้งานในพื้นที่นั้นๆได้อีกด้วย เป็นการเตรียมตัวสู่ยุค 5G ในอนาคตอีกด้วย
ส่วนแบ่งตลาดปริมาณจากข้อมูลของการ์ตเนอร์ (ยอดขายใหม่) | ||||
---|---|---|---|---|
ยี่ห้อ | ร้อยละ | |||
ซัมซุง 2555 | 22.0% | |||
ซัมซุง 2556 | 24.6% | |||
โนเกีย 2555 | 19.1% | |||
โนเกีย 2556 | 13.9% | |||
แอปเปิล 2555 | 7.5% | |||
แอปเปิล 2556 | 8.3% | |||
แอลจีอิเล็กทรอนิกส์ 2555 | 3.3% | |||
แอลจีอิเล็กทรอนิกส์ 2556 | 3.8% | |||
แซดทีอี 2555 | 3.9% | |||
แซดทีอี 2556 | 3.3% | |||
อื่น ๆ 2555 | 34.9% | |||
อื่น ๆ 2556 | 34.0% | |||
หมายเหตุ: "อื่น ๆ 2555" ประกอบด้วยโซนีอีริกสัน โมโตโรลา แซดทีอี เอชทีซีและหัวเว่ย (2552–2553) |
ก่อนปี 2553 โนเกียเป็นผู้นำตลาด ทว่า นับแต่นั้นเกิดการแข่งขันในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก โดยยี่ห้ออย่างไมโครแมกซ์ เน็กเซียนและไอโมบายล์ซึ่งแย่งส่วนแบ่งตลาดของโนเกีย สมาร์ตโฟนที่ใช้ระบบปฏิบัติการแอนดรอยด์ก็ได้กระแสมากขึ้นทั่วภูมิภาค ส่วนโนเกียมีแนวโน้มลดลง ในประเทศอินเดีย ส่วนแบ่งตลาดของโนเกียลดลงอย่างสำคัญจาก 56% เหลือประมาณ 31% ในช่วงเดียวกัน สัดส่วนนั้นถูกแทนด้วยผู้ขายโทรศัพท์เคลื่อนที่คุณภาพต่ำสัญชาติจีนและอินเดีย
ในไตรมาสที่ 1 ของปี 2555 จากข้อมูลของสแตรเทดจีอะนาไลติกส์ ซัมซุง แซงหน้าโนเกีย โดยขายได้ 93.5 ล้านเครื่องเทียบกับโนเกีย 82.7 ล้านเครื่อง ในปี 2555 สแตนดาร์ดแอนด์พัวส์ลดระดับโนเกียเหลือสถานะ ที่ 3G+/H โดยมีความเชื่อเชิงลบเนื่องจากขาดทุนสูงและคาดหมายว่าจะเสื่อมลงอีกเนื่องจากการเติบโตของยอดขายสมาร์ตโฟน Android ไม่เพียงพอกับรายได้จากสมาร์ตโฟนที่ใช้ระบบปฏิบัติการซิมเบียนที่ลดลงอย่างรวดรเวที่มีการพยากรณ์ไว้อีกหลายไตรมาสถัดมา[4]
ในไตรมาสที่ 3 ของปี 2557 ผู้ผลิตยอดขายสูงสุดสิบราย ได้แก่ ซัมซุง (20.6%), โนเกีย (9.5%), แอปเปิล จำกัด (8.4%), แอลจี (4.2%), หัวเว่ย (3.6%), ทีซีแอลคอมมิวนิเคชัน (3.5), เสี่ยวหมี่ (3.5%), เลโนโว (3.3%), แซดทีอี (3.0%) และไมโครแมกซ์ (2.2%)[5]
โทรศัพท์ในประเทศไทย
"ตำนานไปรษณีย์โทรเลขสยาม" พ.ศ. 2429 ถึง พ.ศ. 2468 ได้บันทึกเรื่องราวเกี่ยวกับโทรศัพท์ในประเทศไทยไว้ว่า ประเทศไทยได้นำเอาโทรศัพท์มาใช้เป็นครั้งแรก เมื่อ พ.ศ. 2424 ตรงกับรัชกาลที่ 5 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ โดยกรมกลาโหม (กระทรวงกลาโหมในปัจจุบัน) ได้สั่งเข้ามาใช้งานในกิจการเพื่อความมั่นคงแห่งชาติ โดยติดตั้งที่กรมอู่ทหารเรือกรุงเทพฯ 1 เครื่อง และป้อมยามปากน้ำเจ้าพระยา จังหวัดสมุทรปราการอีก 1 เครื่อง รวม 2 เครื่อง เพื่อจะได้แจ้งข่าวเรือ เข้าออกในแม่น้ำ เจ้าพระยาให้ทางกรุงเทพฯทราบ
- พ.ศ. 2429 กิจการโทรศัพท์ได้เจริญรุ่งเรืองขึ้น จำนวนเลขหมายและบุคลากร ก็เพิ่มมากขึ้น ยุ่งยากแก่การบริหารงาน ของกรมกลาโหม ดังนั้น กรมกลาโหม จึงได้โอนกิจการของโทรศัพท์ ให้ไปอยู่ใน การ ดูแลและดำเนินการ ของกรมไปรษณีย์ โทรเลข ต่อมากรมไปรษณีย์โทรเลขก็ได้ขยายกิจการโทรศัพท์จากภาครัฐสู่เอกชน โดยให้ ประชาชน มีโอกาสใช้โทรศัพท์ได้ ในระยะนี้เครื่องที่ใช้จะเป็น ระบบแม็กนีโต (Magneto) หรือระบบ โลคอลแบตเตอรี่ (Local Bat tery )
- พ.ศ. 2450 กรมไปรษณีย์โทรเลขได้สั่งโทรศัพท์ ระบบคอมมอนแบตเตอรี่ (Battery) หรือ เซ็นทรัล แบตเตอรี่ (Battery) มาใช้ซึ่งสะดวกและประหยัดกว่าระบบแม็กนีโตมาก
- พ.ศ. 2479 กรมไปรษณีย์โทรเลขได้สั่งซื้อชุมสายระบบสเต็บบายสเต็บ (Step by Step) ซึ่งเป็นระบบอัตโนมัติ สามารถหมุนเลขหมายถึงกันโดยตรง โดยไม่ต้องผ่านพนักงานต่อสาย (Operator) เหมือน โลคอลแบตเตอรี่ หรือ เซ็นทรัล แบตเตอรี่
- พ.ศ. 2497 เนื่องจากกิจการโทรศัพท์ได้เจริญก้าวหน้ามาก ประชาชนนิยมใช้ แพร่หลายไปทั่วประเทศ กิจการใหญ่ โตขึ้นมากทำให้การบริหารงานลำบากมากขึ้น เพราะกรมไปรษณีย์โทรเลขต้องดูแลเรื่องอื่นอีกมาก ดังนั้นเมื่อวันที่ 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2497 จึงได้มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชบัญญัติตั้งองค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทยขึ้น โดยแยก กองช่างโทรศัพท์กรมไปรษณีย์โทรเลขมาตั้งเป็นองค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทยขึ้น มีฐานะเป็นรัฐวิสาหกิจ สังกัดกระทรวง คมนาคมมาจนถึงปัจจุบัน องค์การโทรศัพท์หลังจากที่ได้รับการจัดตั้งขึ้นแล้ว ก็ได้รับโอนงานกิจการโทรศัพท์มาดูแล
- พ.ศ. 2517 องค์การโทรศัพท์ก็สั่งซื้อชุมสายโทรศัพท์ระบบคอสบาร์ (Cross Bar) มาใช้งานระบบคอสบาร์ เป็นระบบอัตโนมัติเหมือนระบบสเต็บบายสเต็บแต่ทันสมัยกว่าทำงานได้เร็วกว่า มีวงจรพูดได้มากกว่า และขนาดเล็กกว่า
- พ.ศ. 2526 องค์การโทรศัพท์ได้นำระบบชุมสาย SPC (Storage Program Control) มาใช้งาน ระบบ SPC เป็นระบบที่ควบคุมการทำงานด้วยคอมพิวเตอร์ (Computer) ทำงานได้รวดเร็วมาก ขนาดเล็ก กินไฟน้อย และยังให้ บริการ เสริมด้าน อื่น ๆ ได้อีกด้วย
ในปัจจุบันชุมสายโทรศัพท์ที่ติดตั้งใหม่ ๆ จะเป็นระบบ SPC ทั้งหมด ระบบอื่น ๆ เลิกผลิตแล้ว ประเทศไทยเรากำลัง เร่งติดตั้งโทรศัพท์เพื่อให้พอใช้กับประชาชน ดังจะเห็นจากโครงการ 3 ล้านเลขหมายในแผนพัฒนา เศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 7 และโครงการอื่น ๆ ต่อไป รวมทั้งวิทยุโทรศัพท์อีกด้วย เพื่อเสริมให้ระบบสื่อสารในประเทศไทยมีประสิทธิภาพ เอื้ออำนวย ต่อการพัฒนาประเทศให้เจริญรุ่งเรืองต่อไป
การใช้โทรศัพท์มือถือในปัจจุบัน
โทรศัพท์เป็นเครื่องมือสื่อสารที่ช่วยร่นระยะเวลา ระยะทางในการสื่อสารของคนยุคปัจจุบัน เป็นเทคโนโลยีที่สร้างประโยชน์ได้มากต่อการพัฒนาความก้าวหน้าในด้านต่างๆของโลก ซึ่งปัจจุบันโทรศัพท์มือถือมีความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีอย่างมาก ด้วยความบันเทิงหลากหลายที่เป็นจุดขายดึงดูดวัยรุ่นยุคปัจจุบันที่ดำเนินชีวิตอยู่กับเทคโนโลยี ทำให้เครื่องมือสื่อสารชนิดนี้มีอิทธิพลต่อการดำเนินชีวิต วัยรุ่นมักนำความสามารถทุกอย่างที่โทรศัพท์มือถือทำได้มาประยุกต์ในทางที่เสื่อมมากกว่าทางสร้างสรรค์ โทรศัพท์มือถือมีอิทธิพลต่ออารมณ์ให้เป็นคนขาดความอดทน ใจร้อน ขาดความรอบคอบ อารมณ์รุนแรง มีอิทธิพลในการใช้เงินของวัยรุ่น เนื่องจากวัยรุ่นมีความต้องการที่จะเปลี่ยนโทรศัพท์ใหม่ให้อินเทรนด์ อยู่เสมอ มีอิทธิพลต่อการศึกษาและการพัฒนาความรู้ นอกจากคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าที่ทำลายเซลล์สมองให้ด้อยพัฒนาแล้ว ยังส่งผลต่อสุขภาพและลดสมาธิในการเรียน ด้านการแก้ไขพฤติกรรมการใช้โทรศัพท์ของวัยรุ่น คือวัยรุ่นควรตระหนักถึงข้อดีข้อเสียให้มาก ปรับเปลี่ยนการใช้โทรศัพท์ให้เหมาะสม เพราะกลุ่มวัยรุ่นเป็นกลุ่มประเมินสำคัญที่บ่งบอกถึงความก้าวหน้าของประเทศได้.....
ผลกระทบต่อสุขภาพ
ดูบทความหลักที่: รังสีโทรศัพท์เคลื่อนที่กับสุขภาพ
ความเชื่อที่ว่าโทรศัพท์เคลื่อนที่สามารถก่อให้เกิดความเสี่ยงต่อสุขภาพในระยะยาวนั้น ปัจจุบันได้รับการยืนยันจากองค์การอนามัยโลกแล้ว โดยองค์การฯ ได้บรรจุโทรศัพท์เคลื่อนที่ไว้ในรายชื่อวัตถุก่อมะเร็ง[6][7] ซึ่งองค์การอนามัยโลกได้ออกรายงานเมื่อวันที่ 31 พฤษภาคม พ.ศ. 2554[8] โดยจัดว่ารังสีโทรศัพท์เคลื่อนที่เป็น "วัตถุก่อมะเร็ง" และ "อาจก่อให้เกิดมะเร็งในมนุษย์" ได้ รายงานดังกล่าวออกมาหลังจากทีมนักวิทยาศาสตร์ได้ทบทวนการศึกษาเกี่ยวกับความปลอดภัยของโทรศัพท์เคลื่อนที่[9] งานวิจัยหนึ่งว่าด้วยการใช้โทรศัพท์เคลื่อนที่ในอดีตนั้นได้ถูกอ้างอิงในรายงานซึ่งแสดงให้เห็นว่า ผู้ใช้โทรศัพท์เคลื่อนที่อย่างหนักจะมีความเสี่ยงเป็นเนื้องอกในสมองมากขึ้นถึง 40% (รายงานการใช้โดยเฉลี่ย 30 นาทีต่อวัน เป็นเวลาติดต่อกันนานกว่า 10 ปี)[10] ซึ่งรายงานดังกล่าวตรงกันข้ามกับการสรุปก่อนหน้านี้ซึ่งไม่คาดว่ามะเร็งจะเกิดขึ้นเป็นผลมาจากโทรศัพท์เคลื่อนที่หรือสถานีฐาน และการทบทวนดังกล่าวไม่ได้พบหลักฐานชัดเจนเกี่ยวกับผลกระทบต่อสุขภาพด้านอื่นแต่อย่างใด[11][12]
บริการไปรษณีย์
คือ บริการทางด้านการส่งข่าวสารและสิ่งของต่างๆ ทางไปรษณีย์ สิ่งของที่จะฝากส่งทางไปรษณีย์ แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือไปรษณีย์และพัสดุไปรษณีย์ ถือเป็นบริการหลักของการบริการไปรษณีย์
1) ไปรษณียภัณฑ์(Letter-post item) หมายถึง ข่าวสารหรือสิ่งของที่ฝากส่งทางไปรษณีย์ตามหลักเกณฑ์ ซึ่งออกเป็น 5 ชนิดคือ 1.จดหมาย Letter เป็นไปรษณียภัณฑ์ที่มีลักษณะเป็นข่าวสารส่วนตัว 2.ไปรษณียบัตรPostcard เป็นบัตรที่ใช้ส่งข่าวสารทางไปรษณีย์ เป็นบัตรที่การสื่อสารแห่งประเทศไทยจัดทำขึ้นจำหน่าย เหมาะสมสำหรับข่าวสารทางธุรกิจที่ไม่เป็นความลับ 3.ของตีพิมพ์ Printed paper เป็นไปรษณียภัณฑ์ประเภทข้อความ รูป หรือรอยปนะดิษฐ์บนกระดาษ การดาษแข็ง หรือบนวัสดุที่ใช้กันโดยทั่วไปในกิจการพิมพ์ที่ทำขึ้นเป็นหลายสำเนาเหมือนกันทุกประการ 4.พัสดุย่อย Small packet คือหีบห่อบรรจุของหรือสินค้าเล็ก ๆ น้อย ๆ ที่ฝากส่งทางไปรษณีย์ มีน้ำหนักสูงสุดไม่เกิน 2,000 กรัม ให้บริการเฉพาะการส่งปลายทางต่างประเทศเท่านั้นและต้องเขียนคำว่า”Small packet” 5.เครื่องอ่านสำหรับคนเสียจักษุ Literature for the blind เครื่องอ่านทุกชนิดที่พิมพ์ขึ้นสำหรับคนตาบอด ซึ่งต้องส่งโดยการเปิดผนึกและจ่าหน้าถึงสถาบันหรือโรงเรียนของคนตาบอด ที่ทางการรับรอง กสท. ก็ส่งให้โดยไม่คิดค่าฝากส่ง แต่เมื่อพับห่อแล้วต้องเขียนว่า “เครื่องอ่านสำหรับคนเสียจักษุ” 2) พัสดุไปรษณีย์ หมายถึง หีบห่อบรรจุสิ่งของส่งทางไปรษณีย์ มีบริการทั้งในประเทศและต่างประเทศ มีน้ำหนักไม่เกิน 1,000 กรัม เกิน 1,000 กรัมคิดเป็น 1,000 กรัม นอกจากบริการหลักที่ทางการสื่อสารแห่งประเทศไทยได้เปิดกิจการให้บริการ 2 ประเภท คือ บริการไปรษณียภัณฑ์และพัสดุไปรษณีย์ ดังกล่าวข้างต้น การสื่อสารแห่งประเทศไทยจัดให้มีการบริการให้ผู้ใช้บริการเลือกใช้อีก 3 บริการ คือ 1. บริการการเงิน 2. บริการพิเศษ 3. บริการเพื่อธุรกิจ |
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)