วันพฤหัสบดีที่ 23 พฤษภาคม พ.ศ. 2562
วันอังคารที่ 21 พฤษภาคม พ.ศ. 2562
5. การใช้บริการกับหน่วยงานต่าง ๆ
การติดต่อสื่อสารและใช้บริการกับหน่วยงานต่างๆ
การติดต่อสื่อสาร เป็นการสร้างความเข้าใจจากบุคคลหนึ่งไปยังบุคคลหนึ่ง หรือหน่วยงานหนึ่งไปยังหน่วยงานหนึ่ง หรือเป็นกระบวนการในการส่งข่าวสารระหว่างบุคคล หรือหน่วยงานทั้งภายในและภายนอกขององค์กร เพื่อให้เกิดความเข้าใจ และสามารถประสานงานให้ฝ่ายต่าง ๆ ได้ปฏิบัติหน้าที่ความรับผิดชอบได้ตรงตามวัตถุประสงค์ขององนั้นๆ
ซึ่งการสื่อสารภายในองค์กรจะมีระดับการสื่อสารอยู่หลายระดับด้วยกันไม่ว่าจะเป็นการสื่อสารระหว่างบุคคล การประชุม การฝึกอบรม การสัมมนา การชี้แจง การชี้แจงด้านเอกสาร วารสาร หรือระบบ Internet และ E – mail ภายในองค์กร การสื่อสารอย่างไม่เป็นทางการ เป็นต้น ซึ่งสิ่งเหล่านี้ผู้บริหารควรเข้าไปมีส่วนร่วมด้วย มิใช่การสื่อสารระดับผู้บริหารเท่านั้น ต้องทำให้ทุกระดับทั้งฝ่ายปฏิบัติการและฝ่ายบริหารรับทราบข้อมูลที่สอดคล้องกันจึงจะสร้างภาพลักษณ์หรือรับรู้ปัญหาขององค์กรได้ทั้งหมด ซึ่งเป็นวัฒนธรรมองค์กรที่ควรให้ความสำคัญด้วย
อาจกล่าวโดยสรุปได้ว่า การสื่อสารคือ เครื่องสร้างความเข้าใจ และสร้างวัฒนธรรมตลอดจนสามารถสร้างความมั่นคงให้กับองค์กรนั้นๆ เป็นศูนย์รวมให้องค์กรนั้นๆ ทำงานร่วมกันได้อย่างมีประสิทธิผล โดยผู้ใช้จะต้องเข้าใจและเข้าถึงกระบวนการสื่อสารเป็นอย่างดี
การติดต่อสื่อสารในองค์กรมีจุดประสงค์ดังนี้
1) เพื่อแจ้งให้ทราบ คือ การรับและส่งข่าวสารด้านต่างๆ การนำเสนอเรื่องราว ความรู้สึกนึกคิด ความรู้ หรือสิ่งอื่นใด ที่ต้องการให้ผู้รับสารรู้และเข้าใจข้อมูลนั้นๆ โดยมุ่งให้ความรู้และสร้างความเข้าใจที่ถูกต้อง
2) เพื่อความบันเทิงใจ คือ การรับส่งความรู้สึกที่ดี และมุ่งรักษามิตรภาพต่อกัน เป็นการนำเสนอเรื่องราวหรือสิ่งอื่นใดที่จะทำให้ผู้รับสารเกิดความพึงพอใจ
3) เพื่อชักจูงใจ คือ การนำเสนอเรื่องราวหรือสิ่งอื่นใดเพื่อจูงใจให้เกิดความร่วมมือ สร้างกำลังใจ เพื่อให้ผู้รับสารเกิดความคิดคล้อยตาม หรือปฏิบัติตามที่ผู้ส่งสารต้องการ และนำไปสู่การปรับปรุงแก้ไข
ความสำคัญของการติดต่อสื่อสารในองค์กร
1) เป็นเครื่องมือของผู้บริหารในการบริหารงาน เพราะการสื่อสารภายในองค์กรจะช่วยทำให้สามารถทำงานได้สำเร็จลุล่วงไปด้วยดี เนื่องจากการทำงานต้องอาศัยหลายฝ่าย หลายส่วนงานเข้ามาช่วยเสริมสร้างศักยภาพให้กับองค์กร
2) เป็นเครื่องมือที่ช่วยสร้างความสัมพันธ์ระหว่างผู้บริหารกับบุคลากรต่างๆภายในองค์กรเดียวกัน เพื่อให้เกิดความเข้าใจที่ตรงกัน และสร้างความไว้วางใจต่อกัน โดยเฉพาะการเปิดโอกาสให้บุคลากรในระดับต่างๆได้มีส่วนร่วมในการบริหารงานของผู้บริหาร
3) การช่วยกันปฏิบัติภารกิจขององค์กรและมีการประสานงานระหว่างกัน พร้อมทั้งทำงานสอดคล้องกันแม้ว่าจะต่างฝ่ายกันก็ตาม แต่เพื่อองค์กรเดียวกัน ผู้บริหารสามารถใช้การสื่อสารให้เป็นการสื่อสารเพื่อ สร้างความเป็นหนึ่งเดียวภายในองค์กรให้ได้
4) การช่วยให้เกิดการพัฒนาและการทำงานที่มีประสิทธิภาพ จากปัจจัยต่างๆเมื่อผสมผสานเข้ากันแล้ว สามารถช่วยทำให้เกิดการพัฒนาองค์กรได้ โดยเฉพาะพลังขับเคลื่อนที่นำโดยผู้บริหาร ที่รู้จักการสื่อสารภายในองค์กรเป็นอย่างดี
โทรศัพท์เคลื่อนที่
โทรศัพท์มือถือ หรือ โทรศัพท์เคลื่อนที่ (บ้างเรียก วิทยุโทรศัพท์) คืออุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่ใช้ในการสื่อสารสองทางผ่าน โทรศัพท์มือถือใช้คลื่นวิทยุในการติดต่อกับเครือข่ายโทรศัพท์มือถือโดยผ่านสถานีฐาน โดยเครือข่ายของโทรศัพท์มือถือแต่ละผู้ให้บริการจะเชื่อมต่อกับเครือข่ายของโทรศัพท์บ้านและเครือข่ายโทรศัพท์มือถือของผู้ให้บริการอื่น โทรศัพท์มือถือที่มีความสามารถเพิ่มขึ้นในลักษณะคอมพิวเตอร์พกพาจะถูกกล่าวถึงในชื่อสมาร์ทโฟน
โทรศัพท์มือถือในปัจจุบันนอกจากจากความสามารถพื้นฐานของโทรศัพท์แล้ว ยังมีคุณสมบัติพื้นฐานของโทรศัพท์มือถือที่เพิ่มขึ้นมา เช่น การส่งข้อความสั้นเอสเอ็มเอส ปฏิทิน นาฬิกาปลุก ตารางนัดหมาย เกม การใช้งานอินเทอร์เน็ต บลูทูธ อินฟราเรด กล้องถ่ายภาพ เอ็มเอ็มเอสวิทยุ เครื่องเล่นเพลง และ จีพีเอส
โทรศัพท์เคลื่อนที่เครื่องแรกถูกผลิตและออกแสดงใน พ.ศ. 2516 โดย มาร์ติน คูเปอร์ (Martin Cooper) นักประดิษฐ์จากบริษัทโมโตโรลาเป็นโทรศัพท์เคลื่อนที่ขนาดใหญ่ที่มีน้ำหนักประมาณ 1.1 กิโลกรัม[1] ปัจจุบันจำนวนผู้ใช้งานโทรศัพท์เคลื่อนที่ทั่วโลก เพิ่มขึ้นจากปี พ.ศ. 2543 ที่มีจำนวน 12.4 ล้านคน[2] มาเป็น 4,600 ล้านคน[3]
เนื้อหา
วิวัฒนาการของโทรศัพท์มือถือ
- 1G ระบบโทรศัพท์มือถือแบบ analog โทรศัพท์มือถือในยุคนั้นไม่สามารถทำอะไรได้มากนัก ความสามารถหลักๆ คือการให้บริการเสียงอย่างเดียว รองรับเพียงการโทรเข้าและรับสาย ยังไม่รองรับการส่งหรือรับ Data ใดๆ แม้แต่จะส่ง SMS ก็ยังไม่สามารถทำได้ ซึ่งในยุคนั้นผู้คนก็ยังไม่มีความจำเป็นในการใช้งานอื่นๆ นอกจากการโทรเข้าออกอยู่แล้ว และกลุ่มคนส่วนใหญ่ที่สามารถใช้งานโทรศัพท์เคลื่อนที่ได้ในเวลานั้น เป็นผู้มีฐานะหรือนักธุรกิจที่ใช้ติดต่องาน เนื่องจากโทรศัพท์เคลื่อนที่ในเวลานั้นมีราคาสูงมาก ระบบที่จัดอยู่ในยุคนี้เช่น NMT, AMPS, DataTac เริ่มใช้งานครั้งแรกในปี ค.ศ.1980
- 2G ระบบโทรศัพท์มือถือแบบ digital ระบบที่จัดอยู่ในยุคนี้เช่น GSM, cdmaOne, PDC มีการพัฒนารูปแบบการส่งคลื่นเสียงแบบ Analog มาเป็น Digital โดยการเข้ารหัส โดยส่งคลื่นเสียงมาทางคลื่นไมโครเวฟ โดยการเข้ารหัสเป็นแบบดิจิตอลนี้ จะช่วยในเรื่องของความปลอดภัยในการใช้งานมากยิ่งขึ้น และช่วยในเรื่องของสัญญาณเสียงที่ใช้ติดต่อสื่อสารให้มีความคมชัดมากขึ้นด้วย โดยมีเทคโนโลยีการเข้าถึงช่องสัญญาณของผู้ใช้เป็นลักษณะเชิงผสมระหว่าง FDMA และ TDMA (Time Division Multiple Access) เป็นการเพิ่มช่องทางการสื่อสารทำให้รองรับปริมาณผู้ใช้งานที่มีมากขึ้นได้ ให้บริการทั้งเสียงและข้อมูล มีการทำงานแบบ circuit switching ที่ความเร็ว 9.6-14.4 kbps
- 2.5G ระบบโทรศัพท์มือถือแบบ digital ที่เริ่มนำระบบ packet switching มาใช้ ระบบที่จัดอยู่ในยุคนี้เช่น GPRS ซึ่งพัฒนาในเรื่องของการรับส่งข้อมูลที่มากขึ้น ด้วยความเร็วสูงสุดถึง 115 Kbps (แต่ถูกจำกัดการใช้งานจริงอยู่ที่ 40 kbps) สิ่งที่เราจะเห็นได้ชัดถึงการเปลี่ยนแปลงในยุคนี้ก็คือ โทรศัพท์เคลื่อนที่ได้เพิ่มฟังก์ชันการรับส่งข้อมูลในส่วนของ MMS (Multimedia Messaging Service) หน้าจอโทรศัพท์เริ่มเข้าสู่ยุคหน้าจอสี และเสียงเรียกเข้าก็ถูกพัฒนาให้เป็นเสียงแบบ Polyphonic จากของเดิมที่เป็น Monotone และเข้ามาสู่ยุคที่เสียงเรียกเข้าเป็นแบบ MP3
- 2.75G ยุคนี้เป็นยุคของ EDGE (Enhanced Data rates for Global Evolution) ที่พัฒนาต่อยอดมาจาก GPRS นั่นเอง และในปัจจุบันนี้เราก็ยังคงได้ยินและมีการใช้เทคโนโลยีนี้กันอยู่ ซึ่งได้พัฒนาในเรื่องของความเร็วในการรับส่งข้อมูลไร้สาย ระบบที่จัดอยู่ในยุคนี้เช่น , EDGE ให้ความเร็วน้อยกว่า 10 KBPS
- 3G ระบบโทรศัพท์มือถือแบบ digital ยุคนี้จะเน้นการสื่อสารทั้งการพูดคุยแบบเสียงตามปกติและแบบรับส่งข้อมูลซึ่งในส่วนของการรับส่งข้อมูล ที่ทำให้ 3G นั้นต่างจากระบบเก่า 2G ที่มีพื้นฐานในการพูดคุยแบบเสียงตามปกติอยู่มาก เนื่องจากเป็นระบบที่ทำขึ้นมาใหม่เพื่อให้รองรับกับการรับส่งข้อมูลโดยตรง มีช่องความถี่และความจุในการรับส่งสัญญาณที่มากกว่า ส่งผลให้การรับส่งข้อมูลหรือการใช้อินเทอร์เน็ตผ่านมือถือนั้นเร็วมากขึ้นแบบก้าวกระโดด ประสิทธิภาพในการใช้งานด้านมัลติมีเดียดีขึ้น และยังมีความเสถียรกว่า 2G ที่มีความสามารถครบทั้งการสื่อสารด้วยเสียงและข้อมูลรวมถึงวิดีโอ ระบบที่จัดอยู่ในยุคนี้เช่น W-CDMA, TD-SCDMA, CDMA2000 ความเร็ว มากกว่า 144 kbps
- 4G ระบบโทรศัพท์มือถือแบบ LTE หรือ
Long Term Evolution ได้มีการพัฒนาในเรื่องความเร็วในการรับส่งข้อมูล ที่ทำได้เร็วขึ้นถึง 100 MBPS สำหรับความเร็วขนาดนี้นั้น ทำให้สามารถใช้งานโทรศัพท์มือถือ ของคุณได้หลากหลายยิ่งขึ้น ไม่ว่าจะเป็น การดูไฟล์วีดิโอออนไลน์ด้วยความคมชัด และไม่มีการกระตุก, การสื่อสารข้ามประเทศ อย่างโทรศัพท์แบบเห็นหน้ากันแบบโต้ตอบทันที (Video Call)หรือจะเป็นการประชุมผ่านโทรศัพท์ (Mobile) ก็เป็นเรื่องง่ายขึ้น แถมยังมีค่าใช้จ่ายน้อยลงอีกด้วย สามารถเชื่อมต่อข้อมูล 3 แบบ ภาคพื้นดิน CDMA PAP และการเชื่อมต่อ Wi-Fi เพื่อการเชื่อมภาพและเสียงเป็นข้อมูลเดียวกัน และมีการพัฒนาต่อยอด เป็น 4.5G หรือเรียกว่า LTE-Aหรือ LTE Advance โดยมีความสามารถสูงกว่า LTE เดิม มีความสามารถรวมคลื่นความถี่หลากหลายๆคลื่นความถี่ ทำให้มีความเร็วสูงขึ้นสูงสุดได้ถึง 300Mbps ทำให้รองรับการใช้งานหนาแน่นและเพิ่มจำนวนผู้ใช้งานในพื้นที่นั้นๆได้อีกด้วย เป็นการเตรียมตัวสู่ยุค 5G ในอนาคตอีกด้วย
ส่วนแบ่งตลาดปริมาณจากข้อมูลของการ์ตเนอร์ (ยอดขายใหม่) | ||||
---|---|---|---|---|
ยี่ห้อ | ร้อยละ | |||
ซัมซุง 2555 | 22.0% | |||
ซัมซุง 2556 | 24.6% | |||
โนเกีย 2555 | 19.1% | |||
โนเกีย 2556 | 13.9% | |||
แอปเปิล 2555 | 7.5% | |||
แอปเปิล 2556 | 8.3% | |||
แอลจีอิเล็กทรอนิกส์ 2555 | 3.3% | |||
แอลจีอิเล็กทรอนิกส์ 2556 | 3.8% | |||
แซดทีอี 2555 | 3.9% | |||
แซดทีอี 2556 | 3.3% | |||
อื่น ๆ 2555 | 34.9% | |||
อื่น ๆ 2556 | 34.0% | |||
หมายเหตุ: "อื่น ๆ 2555" ประกอบด้วยโซนีอีริกสัน โมโตโรลา แซดทีอี เอชทีซีและหัวเว่ย (2552–2553) |
ก่อนปี 2553 โนเกียเป็นผู้นำตลาด ทว่า นับแต่นั้นเกิดการแข่งขันในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก โดยยี่ห้ออย่างไมโครแมกซ์ เน็กเซียนและไอโมบายล์ซึ่งแย่งส่วนแบ่งตลาดของโนเกีย สมาร์ตโฟนที่ใช้ระบบปฏิบัติการแอนดรอยด์ก็ได้กระแสมากขึ้นทั่วภูมิภาค ส่วนโนเกียมีแนวโน้มลดลง ในประเทศอินเดีย ส่วนแบ่งตลาดของโนเกียลดลงอย่างสำคัญจาก 56% เหลือประมาณ 31% ในช่วงเดียวกัน สัดส่วนนั้นถูกแทนด้วยผู้ขายโทรศัพท์เคลื่อนที่คุณภาพต่ำสัญชาติจีนและอินเดีย
ในไตรมาสที่ 1 ของปี 2555 จากข้อมูลของสแตรเทดจีอะนาไลติกส์ ซัมซุง แซงหน้าโนเกีย โดยขายได้ 93.5 ล้านเครื่องเทียบกับโนเกีย 82.7 ล้านเครื่อง ในปี 2555 สแตนดาร์ดแอนด์พัวส์ลดระดับโนเกียเหลือสถานะ ที่ 3G+/H โดยมีความเชื่อเชิงลบเนื่องจากขาดทุนสูงและคาดหมายว่าจะเสื่อมลงอีกเนื่องจากการเติบโตของยอดขายสมาร์ตโฟน Android ไม่เพียงพอกับรายได้จากสมาร์ตโฟนที่ใช้ระบบปฏิบัติการซิมเบียนที่ลดลงอย่างรวดรเวที่มีการพยากรณ์ไว้อีกหลายไตรมาสถัดมา[4]
ในไตรมาสที่ 3 ของปี 2557 ผู้ผลิตยอดขายสูงสุดสิบราย ได้แก่ ซัมซุง (20.6%), โนเกีย (9.5%), แอปเปิล จำกัด (8.4%), แอลจี (4.2%), หัวเว่ย (3.6%), ทีซีแอลคอมมิวนิเคชัน (3.5), เสี่ยวหมี่ (3.5%), เลโนโว (3.3%), แซดทีอี (3.0%) และไมโครแมกซ์ (2.2%)[5]
โทรศัพท์ในประเทศไทย
"ตำนานไปรษณีย์โทรเลขสยาม" พ.ศ. 2429 ถึง พ.ศ. 2468 ได้บันทึกเรื่องราวเกี่ยวกับโทรศัพท์ในประเทศไทยไว้ว่า ประเทศไทยได้นำเอาโทรศัพท์มาใช้เป็นครั้งแรก เมื่อ พ.ศ. 2424 ตรงกับรัชกาลที่ 5 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ โดยกรมกลาโหม (กระทรวงกลาโหมในปัจจุบัน) ได้สั่งเข้ามาใช้งานในกิจการเพื่อความมั่นคงแห่งชาติ โดยติดตั้งที่กรมอู่ทหารเรือกรุงเทพฯ 1 เครื่อง และป้อมยามปากน้ำเจ้าพระยา จังหวัดสมุทรปราการอีก 1 เครื่อง รวม 2 เครื่อง เพื่อจะได้แจ้งข่าวเรือ เข้าออกในแม่น้ำ เจ้าพระยาให้ทางกรุงเทพฯทราบ
- พ.ศ. 2429 กิจการโทรศัพท์ได้เจริญรุ่งเรืองขึ้น จำนวนเลขหมายและบุคลากร ก็เพิ่มมากขึ้น ยุ่งยากแก่การบริหารงาน ของกรมกลาโหม ดังนั้น กรมกลาโหม จึงได้โอนกิจการของโทรศัพท์ ให้ไปอยู่ใน การ ดูแลและดำเนินการ ของกรมไปรษณีย์ โทรเลข ต่อมากรมไปรษณีย์โทรเลขก็ได้ขยายกิจการโทรศัพท์จากภาครัฐสู่เอกชน โดยให้ ประชาชน มีโอกาสใช้โทรศัพท์ได้ ในระยะนี้เครื่องที่ใช้จะเป็น ระบบแม็กนีโต (Magneto) หรือระบบ โลคอลแบตเตอรี่ (Local Bat tery )
- พ.ศ. 2450 กรมไปรษณีย์โทรเลขได้สั่งโทรศัพท์ ระบบคอมมอนแบตเตอรี่ (Battery) หรือ เซ็นทรัล แบตเตอรี่ (Battery) มาใช้ซึ่งสะดวกและประหยัดกว่าระบบแม็กนีโตมาก
- พ.ศ. 2479 กรมไปรษณีย์โทรเลขได้สั่งซื้อชุมสายระบบสเต็บบายสเต็บ (Step by Step) ซึ่งเป็นระบบอัตโนมัติ สามารถหมุนเลขหมายถึงกันโดยตรง โดยไม่ต้องผ่านพนักงานต่อสาย (Operator) เหมือน โลคอลแบตเตอรี่ หรือ เซ็นทรัล แบตเตอรี่
- พ.ศ. 2497 เนื่องจากกิจการโทรศัพท์ได้เจริญก้าวหน้ามาก ประชาชนนิยมใช้ แพร่หลายไปทั่วประเทศ กิจการใหญ่ โตขึ้นมากทำให้การบริหารงานลำบากมากขึ้น เพราะกรมไปรษณีย์โทรเลขต้องดูแลเรื่องอื่นอีกมาก ดังนั้นเมื่อวันที่ 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2497 จึงได้มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชบัญญัติตั้งองค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทยขึ้น โดยแยก กองช่างโทรศัพท์กรมไปรษณีย์โทรเลขมาตั้งเป็นองค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทยขึ้น มีฐานะเป็นรัฐวิสาหกิจ สังกัดกระทรวง คมนาคมมาจนถึงปัจจุบัน องค์การโทรศัพท์หลังจากที่ได้รับการจัดตั้งขึ้นแล้ว ก็ได้รับโอนงานกิจการโทรศัพท์มาดูแล
- พ.ศ. 2517 องค์การโทรศัพท์ก็สั่งซื้อชุมสายโทรศัพท์ระบบคอสบาร์ (Cross Bar) มาใช้งานระบบคอสบาร์ เป็นระบบอัตโนมัติเหมือนระบบสเต็บบายสเต็บแต่ทันสมัยกว่าทำงานได้เร็วกว่า มีวงจรพูดได้มากกว่า และขนาดเล็กกว่า
- พ.ศ. 2526 องค์การโทรศัพท์ได้นำระบบชุมสาย SPC (Storage Program Control) มาใช้งาน ระบบ SPC เป็นระบบที่ควบคุมการทำงานด้วยคอมพิวเตอร์ (Computer) ทำงานได้รวดเร็วมาก ขนาดเล็ก กินไฟน้อย และยังให้ บริการ เสริมด้าน อื่น ๆ ได้อีกด้วย
ในปัจจุบันชุมสายโทรศัพท์ที่ติดตั้งใหม่ ๆ จะเป็นระบบ SPC ทั้งหมด ระบบอื่น ๆ เลิกผลิตแล้ว ประเทศไทยเรากำลัง เร่งติดตั้งโทรศัพท์เพื่อให้พอใช้กับประชาชน ดังจะเห็นจากโครงการ 3 ล้านเลขหมายในแผนพัฒนา เศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 7 และโครงการอื่น ๆ ต่อไป รวมทั้งวิทยุโทรศัพท์อีกด้วย เพื่อเสริมให้ระบบสื่อสารในประเทศไทยมีประสิทธิภาพ เอื้ออำนวย ต่อการพัฒนาประเทศให้เจริญรุ่งเรืองต่อไป
การใช้โทรศัพท์มือถือในปัจจุบัน
โทรศัพท์เป็นเครื่องมือสื่อสารที่ช่วยร่นระยะเวลา ระยะทางในการสื่อสารของคนยุคปัจจุบัน เป็นเทคโนโลยีที่สร้างประโยชน์ได้มากต่อการพัฒนาความก้าวหน้าในด้านต่างๆของโลก ซึ่งปัจจุบันโทรศัพท์มือถือมีความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีอย่างมาก ด้วยความบันเทิงหลากหลายที่เป็นจุดขายดึงดูดวัยรุ่นยุคปัจจุบันที่ดำเนินชีวิตอยู่กับเทคโนโลยี ทำให้เครื่องมือสื่อสารชนิดนี้มีอิทธิพลต่อการดำเนินชีวิต วัยรุ่นมักนำความสามารถทุกอย่างที่โทรศัพท์มือถือทำได้มาประยุกต์ในทางที่เสื่อมมากกว่าทางสร้างสรรค์ โทรศัพท์มือถือมีอิทธิพลต่ออารมณ์ให้เป็นคนขาดความอดทน ใจร้อน ขาดความรอบคอบ อารมณ์รุนแรง มีอิทธิพลในการใช้เงินของวัยรุ่น เนื่องจากวัยรุ่นมีความต้องการที่จะเปลี่ยนโทรศัพท์ใหม่ให้อินเทรนด์ อยู่เสมอ มีอิทธิพลต่อการศึกษาและการพัฒนาความรู้ นอกจากคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าที่ทำลายเซลล์สมองให้ด้อยพัฒนาแล้ว ยังส่งผลต่อสุขภาพและลดสมาธิในการเรียน ด้านการแก้ไขพฤติกรรมการใช้โทรศัพท์ของวัยรุ่น คือวัยรุ่นควรตระหนักถึงข้อดีข้อเสียให้มาก ปรับเปลี่ยนการใช้โทรศัพท์ให้เหมาะสม เพราะกลุ่มวัยรุ่นเป็นกลุ่มประเมินสำคัญที่บ่งบอกถึงความก้าวหน้าของประเทศได้.....
ผลกระทบต่อสุขภาพ
ดูบทความหลักที่: รังสีโทรศัพท์เคลื่อนที่กับสุขภาพ
ความเชื่อที่ว่าโทรศัพท์เคลื่อนที่สามารถก่อให้เกิดความเสี่ยงต่อสุขภาพในระยะยาวนั้น ปัจจุบันได้รับการยืนยันจากองค์การอนามัยโลกแล้ว โดยองค์การฯ ได้บรรจุโทรศัพท์เคลื่อนที่ไว้ในรายชื่อวัตถุก่อมะเร็ง[6][7] ซึ่งองค์การอนามัยโลกได้ออกรายงานเมื่อวันที่ 31 พฤษภาคม พ.ศ. 2554[8] โดยจัดว่ารังสีโทรศัพท์เคลื่อนที่เป็น "วัตถุก่อมะเร็ง" และ "อาจก่อให้เกิดมะเร็งในมนุษย์" ได้ รายงานดังกล่าวออกมาหลังจากทีมนักวิทยาศาสตร์ได้ทบทวนการศึกษาเกี่ยวกับความปลอดภัยของโทรศัพท์เคลื่อนที่[9] งานวิจัยหนึ่งว่าด้วยการใช้โทรศัพท์เคลื่อนที่ในอดีตนั้นได้ถูกอ้างอิงในรายงานซึ่งแสดงให้เห็นว่า ผู้ใช้โทรศัพท์เคลื่อนที่อย่างหนักจะมีความเสี่ยงเป็นเนื้องอกในสมองมากขึ้นถึง 40% (รายงานการใช้โดยเฉลี่ย 30 นาทีต่อวัน เป็นเวลาติดต่อกันนานกว่า 10 ปี)[10] ซึ่งรายงานดังกล่าวตรงกันข้ามกับการสรุปก่อนหน้านี้ซึ่งไม่คาดว่ามะเร็งจะเกิดขึ้นเป็นผลมาจากโทรศัพท์เคลื่อนที่หรือสถานีฐาน และการทบทวนดังกล่าวไม่ได้พบหลักฐานชัดเจนเกี่ยวกับผลกระทบต่อสุขภาพด้านอื่นแต่อย่างใด[11][12]
บริการไปรษณีย์
คือ บริการทางด้านการส่งข่าวสารและสิ่งของต่างๆ ทางไปรษณีย์ สิ่งของที่จะฝากส่งทางไปรษณีย์ แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือไปรษณีย์และพัสดุไปรษณีย์ ถือเป็นบริการหลักของการบริการไปรษณีย์
1) ไปรษณียภัณฑ์(Letter-post item) หมายถึง ข่าวสารหรือสิ่งของที่ฝากส่งทางไปรษณีย์ตามหลักเกณฑ์ ซึ่งออกเป็น 5 ชนิดคือ 1.จดหมาย Letter เป็นไปรษณียภัณฑ์ที่มีลักษณะเป็นข่าวสารส่วนตัว 2.ไปรษณียบัตรPostcard เป็นบัตรที่ใช้ส่งข่าวสารทางไปรษณีย์ เป็นบัตรที่การสื่อสารแห่งประเทศไทยจัดทำขึ้นจำหน่าย เหมาะสมสำหรับข่าวสารทางธุรกิจที่ไม่เป็นความลับ 3.ของตีพิมพ์ Printed paper เป็นไปรษณียภัณฑ์ประเภทข้อความ รูป หรือรอยปนะดิษฐ์บนกระดาษ การดาษแข็ง หรือบนวัสดุที่ใช้กันโดยทั่วไปในกิจการพิมพ์ที่ทำขึ้นเป็นหลายสำเนาเหมือนกันทุกประการ 4.พัสดุย่อย Small packet คือหีบห่อบรรจุของหรือสินค้าเล็ก ๆ น้อย ๆ ที่ฝากส่งทางไปรษณีย์ มีน้ำหนักสูงสุดไม่เกิน 2,000 กรัม ให้บริการเฉพาะการส่งปลายทางต่างประเทศเท่านั้นและต้องเขียนคำว่า”Small packet” 5.เครื่องอ่านสำหรับคนเสียจักษุ Literature for the blind เครื่องอ่านทุกชนิดที่พิมพ์ขึ้นสำหรับคนตาบอด ซึ่งต้องส่งโดยการเปิดผนึกและจ่าหน้าถึงสถาบันหรือโรงเรียนของคนตาบอด ที่ทางการรับรอง กสท. ก็ส่งให้โดยไม่คิดค่าฝากส่ง แต่เมื่อพับห่อแล้วต้องเขียนว่า “เครื่องอ่านสำหรับคนเสียจักษุ” 2) พัสดุไปรษณีย์ หมายถึง หีบห่อบรรจุสิ่งของส่งทางไปรษณีย์ มีบริการทั้งในประเทศและต่างประเทศ มีน้ำหนักไม่เกิน 1,000 กรัม เกิน 1,000 กรัมคิดเป็น 1,000 กรัม นอกจากบริการหลักที่ทางการสื่อสารแห่งประเทศไทยได้เปิดกิจการให้บริการ 2 ประเภท คือ บริการไปรษณียภัณฑ์และพัสดุไปรษณีย์ ดังกล่าวข้างต้น การสื่อสารแห่งประเทศไทยจัดให้มีการบริการให้ผู้ใช้บริการเลือกใช้อีก 3 บริการ คือ 1. บริการการเงิน 2. บริการพิเศษ 3. บริการเพื่อธุรกิจ |
4. การติดต่อสื่อสาร
ในการดำเนินกิจกรรมต่าง ๆ ของธุรกิจหรือหน่วยงานใด ๆ
ก็ตามจะต้องอาศัยการติดต่อสื่อสารระหว่างกัน โดยมีจุดประสงค์เพื่อแลกเปลี่ยนข่าวสาร
ข้อมูล ความรู้ ความคิด อันก่อให้เกิดความเข้าใจอันดีระหว่างกัน
งานด้านการติดต่อสื่อสารจึงเป็นหัวใจสำคัญของงานเลขานุการ
ที่จำเป็นจะต้องมีความสามารถในการสื่อสารกับผู้อื่นได้อย่างดี ไม่ว่าจะเป็นการพูด
การฟัง การเขียน การอ่าน ตลอดจนมีความสามารถในการใช้เครื่องมือสื่อสารชนิดต่าง ๆ
ได้อย่างถูกต้อง
นอกจากนี้ การติดต่อสื่อสาร (Communication)
ยังช่วยให้การดำเนินกิจกรรมต่าง ๆ
ของหน่วยงานเป็นไปอย่างถูกต้องตรงตามวัตถุประสงค์ที่วางไว้
ก่อให้เกิดผลสำเร็จในการปฏิบัติงาน
ฉะนั้น
งานด้านการติดต่อสื่อสารจึงเป็นกระบวนการที่ใช้ส่งเรื่องราวข่าวสาร ข้อความ
เรื่องและภาพ ไปมาระหว่างกันทั้งภายในหน่วยงาน (Internal Communication) และภายนอกหน่วยงาน (External communication)
สรุป การติดต่อสื่อสาร (Communication)
หมายถึง
การส่งข้อมูลข่าวสารจากบุคคลหนึ่งไปยังบุคคลหนึ่ง หรือหลายคน
เพื่อให้เข้าใจความหมายของข้อมูลข่าวสารที่ผู้ส่งส่งไป และเกิดความเข้าใจอันดีระหว่างกัน
ซึ่งการส่งข่าวสารอาจอยู่ในรูปของการสื่อสารด้วยวาจา ลายลักษณ์อักษร
การใช้กิริยาท่าทางอย่างหนึ่งอย่างใดก็ได้ โดยอาศัยช่องทางในการติดต่อสื่อสาร
องค์ประกอบของการติดต่อสื่อสาร
ผู้นำสาร/ผู้ส่งสาร ข่าวสาร/สาร ช่องทองการสื่อสาร ผู้รับสาร
ผู้พูด,ผู้แสดง,บุคคล เรื่องราว สื่อที่นำสารไปยังผู้รับ ผู้รับ,ผู้ฟัง,ผู้อ่าน
การสื่อสารจะมีประสิทธิภาพหรือไม่นั้น
ต้องพิจารณาในเรื่องดังนี้
1. ผู้นำสารต้องเข้าใจจุดมุ่งหมายในการส่งข่าวสาร
2. ผู้ส่งควรหาช่องทางการส่งข่าวสารให้เหมาะสม
3. ผู้ส่งสารต้องเข้าใจระดับความสามารถในการสื่อสารของผู้รับสาร
4. ผู้ส่งสารต้องรู้จักใช้เทคนิคและวิธีการถ่ายทอดข่าวสารไปยังผู้รับได้อย่างเหมาะสม
4.1 ถ้าต้องการความชัดเจน
ควรใช้วิธีพบปะสนทนา
4.2 ถ้าเร่งด่วน ควรใช้โทรศัพท์
4.3 ให้คนจำนวนมากทราบ ควรใช้ประกาศ
4.4 ต้องการแจ้งเรื่องสำคัญ
ควรใช้วิธีประชุมชี้แจง
4.5 ต้องการหลักฐานควรเขียนเป็นลายลักษณ์อักษร
วัตถุประสงค์ของการติดต่อสื่อสาร
1. เพื่อแจ้งข่าวสาร
2. เพื่อชักชวน
หรือจูงใจ
3. เพื่อประเมิน
4. เพื่อสั่งสอนหรือให้ความรู้
5. เพื่อสนองความต้องการด้านวัฒนธรรมและมนุษยสัมพันธ์
ประโยชน์ของการติดต่อสื่อสาร
1. งานบรรลุวัตถุประสงค์ได้อย่างราบรื่น
2. เกิดความรู้สึกที่ดีต่อกัน
มีความสามัคคี
3.
เสริมสร้างขวัญและกำลังใจในการทำงาน
4. ลดข้อขัดแย้งที่เกิดจากความไม่เข้าใจกัน
5. ประหยัดทรัพยากรในการทำงาน
6. ประหยัดเวลา แรงงาน
และค่าใช้จ่าย
7. ป้องกันการทำงานซ้ำซ้อน
ประเภทของการติดต่อสื่อสาร
1. การติดต่อสื่อสารภายใน (Internal
Communication) มีวัตถุประสงค์ให้บุคลากรภายในหน่วยงานได้ทราบข่าวคราว
ความเคลื่อนไหวต่าง ๆ เพื่อชี้แจง กฎ ระเบียบ ต่าง ๆ ที่กำหนดขึ้น ทำได้ 2 วิธีคือ
1.1 การติดต่อด้วยวาจาหรือคำพูด มีความสะดวก
รวดเร็ว ประหยัดเงิน ให้ความรู้สึกเป็นกันเอง สังเกตความจริงใจได้ และได้ข้อมูลย้อนกลับทันที
1.2 การติดต่อด้วยลายลักษณ์อักษร เป็นทางการและมีหลักฐานชัดเจน
สามารถอ่านทวนความได้ทุกเวลาหรือสถานที่การติดต่อสื่อสารภายใน สามารถแบ่งได้ 3 ลักษณะ
คือ
1. การติดต่อสื่อสารในระดับเดียวกัน
ไม่เป็นพิธีการ ง่ายแก่การเข้าใจ
2. การติดต่อสื่อสารจากเบื้องบนสู่เบื้องล่าง
เป็นพิธีการ และมักเป็นการสื่อสารทางเดียว
3. การติดต่อสื่อสารจากเบื้องล่างสู่เบื้องบน เป็นพิธีการเช่นเดียวกันการสื่อสารจากบนสู่ล่าง
2. การติดต่อสื่อสารภายนอก (External Communication)
คือ การติดต่อสื่อสารระหว่างสำนักงานกับบุคคลภายนอกหรือหน่วยงานภายนอกสำนักงาน
ลักษณะของการติดต่อสื่อสารภายนอกได้แก่
1. การต้อนรับ
2. การนัดหมาย
3. จดหมายออก
และจดหมายเข้า
4. โทรศัพท์
โทรสาร และจดหมายอิเล็กทรอนิกส์
5. การใช้บริการจากบริษัท
กสท. โทรคมนาคม จำกัด
6. การใช้บริการบริษัทไปรษณีย์ไทย
7. การใช้บริการสื่อมวลชนต่าง
ๆ
8. สิ่งตีพิมพ์ของบริษัท
9. คำปราศรัย
10. ข้อความโฆษณา
รูปแบบของการติดต่อสื่อสารในสำนักงาน
สำนักงานขนาดเล็กมักจะใช้รูปแบบการติดต่อสื่อสารทางเสียงหรือคำพูด
ส่วนสำนักงานขนาดใหญ่มักใช้รูปแบบการติดต่อสื่อสารได้ครบทุกด้าน ซึ่งอาจแบ่งรูปแบบการติดต่อสื่อสารในสำนักงานได้ 4 ชนิด คือ
1. เสียงหรือคำพูด นิยมใช้โทรศัพท์ในการติดต่อสื่อสาร โดยเฉพาะระบบโทรศัพท์ตอบรับ
จะช่วยลดต้นทุนพนักงานในการรับโทรศัพท์ และเกิดความรวดเร็วในการให้บริการ นอกจากนี้ยังมีเครื่องบันทึกเทปที่ใช้บันทึกคำพูดสั่งการของผู้บังคับบัญชาอีกด้วย
2. คำ
เป็นรูปแบบการติดต่อสื่อสารด้วยลายลักษณ์อักษรหรือการเขียนนั่นเอง
3. ภาพ เป็นรูปแบบการติดต่อสื่อสารที่ถ่ายทอดในรูปแบบไร้คำ
ไร้เสียง และไร้ตัวเลข แต่เป็นการสื่อสารด้วยภาพ หรือสัญลักษณ์ต่าง ๆ
4. ข้อมูล
เป็นรูปแบบการติดต่อสื่อสารที่ใช้เครื่องคอมพิวเตอร์เป็นช่องทางในการติดต่อระหว่างกัน ถ้าเป็นการติดต่อสื่อสารภายในหน่วยงานเดียวกันเรียกว่า ระบบอินทราเน็ต (Intranet) ถ้าเป็นการติดต่อสื่อสารภายนอกสำนักงานไปยังเครือข่ายทั่วโลก เรียกว่า
ระบบอินเทอร์เน็ต (Internet)
หลักเกณฑ์ในการติดต่อสื่อสารด้วยคำหรือการเขียนเป็นลายลักษณ์อักษร
มีหลักในการเขียนที่เรียกว่า 7 C's ดังนี้
1. มีความชัดเจน (Clarity)
2. มีความสมบูรณ์ (Completeness)
3. มีความรัดกุมและเข้าใจง่าย
(Conciseness)
4. ระลึกถึงผู้อ่าน
(Consideration)
5. มีความสุภาพ (Courtesy)
6. มีความถูกต้อง (Correct)
7. ข้อเท็จจริง (Concreteness)
หลักเกณฑ์การติดต่อสื่อสารด้วยเสียงหรือการพูด
หลักเกณฑ์การพูดที่ดี
1. ผู้พูดควรสร้างบรรยากาศในการพูด
โดยยกตัวอย่างประกอบการพูด เพื่อสร้างความสนใจ
2. หลีกเลี่ยงการถ่อมตัวจนมากเกินไป
หรือตำหนิผู้ฟัง สถานที่ หรือกล่าวถึงบุคคลอื่น
3. ไม่ควรแสดงอารมณ์โกรธ หรือไม่พอใจผู้ฟังโดยเด็ดขาด
4. ใช้ภาษาง่าย ๆ แต่สุภาพ
5. ควรมีอารมณ์ขันขณะพูด
หลักเกณฑ์การฟังที่ดี
1.
ขณะฟังต้องฟังอย่างตั้งใจ จับประเด็นเนื้อหาสำคัญให้ได้
2. ต้องรู้จักสังเกตอากัปกิริยาท่าทาง
ความรู้สึกและอารมณ์ของผู้พูด
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)